<<ยินดีต้อนรับ...เข้าสู่เว็บไซต์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ >>  
 

website counter

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.5 องค์ประกอบของระบบเครือข่าย

      ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญทีใช้ในการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้

1. เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องแม่ข่ายและเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่าย ขึ้นอยู่กับรูปแบบของเครือข่ายโดยการกำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำมาเชื่อมต่อในระบบเครือข่ายขึ้นอยู่กับหน้าที่ที่จะกำหนดให้แก่เครื่องนั้น ๆ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำมาต่อต้องทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายที่คอยให้บริการแก่เครื่องอื่น ๆ ก็ต้องใช้เครื่องที่มีคุณลักษณะเฉพาะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องลูกข่าย แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นแพล็ตฟอร์มเดียวกัน

2. อุปกรณ์เครือข่าย หมายถึง อุปกรณ์ต่อพวงที่จำเป็นต้องใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันและกันได้ง่ายสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น มีดังต่อไปนี้

  (1) การ์ดแลน (Network Interface Card) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย

  (2) บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย

  (3) เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ค้นหาเส้นทางในการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง

  (4) ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย

  (5) สวิตช์ (Switch) เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายที่มีความสามารถมากกว่า Hub โดยสวิตช์จะส่งข้อมูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางเท่านั้น

  (6) เกตเวย์ (Gateway) เป็นจุดเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต

3. เกตเวย์ (Gateway) เป็นจุดเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต

4. ซอฟต์แวร์ (Software) หรือโปรแกรมระบบปฏิบัตการเครือข่าย NOS (Network Operating System) ที่หมายถึง ชุดของโปรแกรมที่ใช้ในการประสานและควบคุมการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปที่เชื่อมต่ออยู่บนระบบเครือข่าย ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนและใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

  (1) Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมาก สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ พัฒนาโดยบริษัท Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS

  (2) Window NT,Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์จำกัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

  (3) Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่กำเนิดมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่หรือเมนเฟรมที่รองรับผู้ใช้จำนวนมากสำหรับระบบเครือข่ายในหน่วยงานใหญ่ ๆ

  (4) Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่ายที่อยู่ในกลุ่มของ Free Ware ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง

5. โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง กฎหรือวิธีการที่กำหนดขึ้นมาเป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่จะช่วยให้การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายมีการใช้มาตรฐานเดียวกัน เช่น TCP/IP ที่เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นต้น